Saturday, February 13, 2016

แมวสีสวาด



         


แมวสีสวาด (Silver blue) หรือแมวโคราช (Korat cat)

ประวัติ

          แมวพันธุ์นี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ คือ แมวโคราช แมวมาเลศ หรือแมวดอกเลา แมวโคราชเป็นแมวที่พบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หรือเรารู้จักกันในนามว่าโคราช มีหลักฐานบันทึกเกี่ยวกับแมวโคราชในสมุดข่อย (Smud Khoi of Cats) ที่เขียนขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1350-1767 หรือประมาณ พ.ศ. 1893-2310 ในบันทึกได้กล่าวถึงแมวที่ให้โชคลาภที่ดี 17 ตัวของประเทศไทย รวมถึงแมวโคราชด้วย

          ปัจจุบันสมุดข่อยนี้ถูกเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ชื่อแมวโคราช เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 5 โดยใช้แหล่งกำเนิดของแมวเป็นชื่อเรียกพันธุ์แมว มีเรื่องเล่ามากมายหรือเป็นตำนานเล่าขานเกี่ยวกับแมวโคราช รวมถึงตำนานพื้นบ้านที่กล่าวถึงการที่แมวโคราชมีหางหงิกงอ (kinks) มากเท่าไหร่จะมีโชคลาภมากเท่านั้น (แม้ว่าลักษณะหางหงิกงอไม่ใช่มาตรฐานพันธุ์ตากหลักของ CFA ก็ตาม) แต่คนไทยจะเรียกแมวโคราชอีกชื่อว่า แมวสีสวาด (Si-Sawat cat (see-sa-what)

           ขณะที่คนไทยบางกลุ่มจะเรียกแมวโคราชว่า แมวสีดอกเลา เนื่องจากแมวเพศผู้มีสีเหมือนดอกเลา (Dok Lao) โดยจะต้องมีขนเรียบ ที่โคนขนจะมีสีขุ่นๆ เทา ในขณะที่ส่วนปลายมีสีเงิน เป็นประกายคล้ายหยดน้ำค้างบนใบบัว (dewdrops on the lotus leaf) หรือเหมือนคนผมหงอก

          ทั้งนี้ แมวโคราชได้ถูกนำไปเลี้ยงในสหรัฐอเมริการโดย Cedar Glen Cattery ในรัฐโอเรกอน โดยได้รับมาจากพี่น้องชื่อ นารา (Nara) และ ดารา (Darra) ในวันที่ 12 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1959 (พ.ศ.2502) ประมาณเดือนมีนาคม ปี พ.ศ.2509 นักผสมพันธุ์แมวโคราชและแมวไทย (วิเชียรมาศ) ชาวรัฐแมรีแลนด์ ได้นำแมวโคราชประกวดในงานประจำปีและ ได้รับรางวัลชนะเลิศและเป็นที่รู้จัก 

ลักษณะสีขน

          ขนสั้น สีสวาด (silver blue) ทั่วทั้งตัวและเป็นสีสวาดตั้งแต่เกิดจนตาย

ลักษณะของส่วนหัว

          หัวเมื่อดูจากด้านหน้าจะเป็นรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่และแบน หูตั้ง ในแมวตัวผู้หน้าผากมีรอยหยักทำให้เป็นรูปหัวใจเด่นชัดมากขึ้น หูใหญ่ตั้ง ปลายหูมน โคนหูใหญ่ ผิวหนังที่บริเวณจมูกและริมฝีปากสีเงิน หรือม่วงอ่อน

ลักษณะของนัยน์ตา 

          นัยน์ตาสีเขียวสดใสเป็นประกาย หรือสีเหลืองอำพัน ขณะยังเป็นลูกแมวตาจะเป็นสีฟ้า เมื่อโตขึ้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด และเมื่อเติบโตเต็มที่ตาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวใบไม้ หรือสีเหลืองอำพัน

ลักษณะของหาง 

          หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว

ลักษณะที่เป็นข้อด้อยของพันธุ์ 

          ขนยาวเกินไป มีสีอืนปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เครดิตภาพ  http://pet.kapook.com/view70394.html

No comments:

Post a Comment