เมื่อน้องเหมียวอ้วกๆๆ
(Cat
Magazine)
โดย สพ.ญ.ปิยกาญ โรหิตาคนี
อาเจียนเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในน้องแมว ซึ่งบางครั้ง อาจเป็นเรื่องปกติ เช่น อาเจียนหลังกินหญ้า หรือหลังจากเลียขนตัวเองเข้าไป แต่ในบางครั้ง อาการอาเจียนก็อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในร่างกายได้เช่นกัน
อาการอาเจียน เกิดจากความผิดปกติของทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการขย้อนเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารกลับออกมาทางปาก อาจเกิดได้จากการกินอาหารเยอะเกินไป กินเร็วเกินไป กินของที่ย่อยยากลงไป กินอาหารหลากหลายประเภทเกินไป หรือกินของเน่าเสียเข้าไป ซึ่งอาการอาจไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ แต่นอกเหนือจากนี้ อาจเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างเช่น โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีพยาธิภายใน โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น
ทั้งนี้ หากแมวมีอาการอาเจียนแค่ครั้งเดียว และยังคงวิ่งเล่นร่าเริงสนุกสนานได้ตามปกติ ก็คงไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะอาการอาเจียนนั้นอาจเกิดจากสาเหตุธรรมดา ๆ ที่กล่าวไป แล้วและหายไปได้เอง
ถ้าแมวมีอาการอาเจียนและเราพอที่จะทราบถึงสาเหตุ เช่น เกิดหลังจากการเปลี่ยนอาหาร หรือแมวไปกินใบไม้หรือต้นไม้บางอย่างแล้วอาเจียน ก็ให้กำจัดสาเหตุนั้นออกไป
แต่ถ้าแมวมีอาการอาเจียนหลายครั้ง ซึม เบื่ออาหาร หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรจะรีบนำไปพบสัตวแพทย์ทันที เพราะอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและช็อคได้
การตรวจวินิจฉัย
เริ่มจากการสอบถามประวัติทั่วไป เช่น การกินอาหาร การฉีดวัคซีน การถ่ายพยาธิ ความถี่ของอาการอาเจียน และลักษณะของอาเจียน เป็นต้น ร่วมกับการตรวจร่างกาย คลำช่องท้องว่ามีอาการปวดเกร็งหรือมีก้อนผิดปกติในช่องท้องหรือไม่ ตรวจเลือดและปัสสาวะ ตรวจอุจจาระว่ามีไข่พยาธิหรือมีเลือดปนหรือไม่ นอกเหนือจากนี้ อาจมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น เอ็กซเรย์ อัลตร้าซาวนด์หรือส่องกล้อง ในรายที่มีความซับซ้อนของโรคเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการอาเจียนต่อไป
การรักษา
รักษาให้ตรงตามสาเหตุที่ทำให้อาเจียน สำหรับแมวที่มีอาการอาเจียน แต่ยังร่าเริงดี และไม่มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย อาจให้เพียงยาแก้อาเจียน หรือให้น้ำเกลือทางใต้ผิวหนัง และสังเกตอาการต่อที่บ้าน แต่ในแมวที่มีอาการอาเจียนร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ควรจะต้องอยู่ในความดูแลของคุณหมอก่อนภายใน 24 ชม. โดยงดน้ำงดอาหาร เปลี่ยนเป็นให้ยา ให้น้ำเกลือ ให้สารอาหารและแร่ธาตุทางเส้นเลือดแทน
ถ้าน้องเหมียวมีอาการดีขึ้นแล้ว สามารถกลับบ้านได้ เจ้าของก็ควรจะให้ยาตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดและตรงต่อเวลา ค่อย ๆ ลองป้อนน้ำให้น้องเหมียวกินทีละนิด ๆ ถ้าไม่มีอาการอาเจียนอีกก็ลองให้น้องเหมียวกินอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม เนือ้สัตว์ไม่ติดมัน หรืออาหารกระป๋องสำเร็จรูป สำหรับแมวป่วย ถ้าไม่มีอาการอาเจียนภายใน 1-2 วัน จึงเริ่มให้กลับมากินอาหารตามปกติ แต่ถ้าอาเจียนอีก จะต้องรีบกลับไปปรึกษาคุณหมอทันที
การป้องกัน
การป้องกันไม่ให้น้องเหมียวอาเจียน อาจทำได้โดยระวังไม่ให้น้องเหมียวมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งที่อาจเป็นพิษหรือกินสิ่งแปลกปลอม และหมั่นคอยสังกตการกินอาหารและสุขภาพโดยทั่วไป ฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ครบถ้วนและถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก ๆ 3 เดือน
โดย สพ.ญ.ปิยกาญ โรหิตาคนี
อาเจียนเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในน้องแมว ซึ่งบางครั้ง อาจเป็นเรื่องปกติ เช่น อาเจียนหลังกินหญ้า หรือหลังจากเลียขนตัวเองเข้าไป แต่ในบางครั้ง อาการอาเจียนก็อาจบ่งบอกถึงความผิดปกติในร่างกายได้เช่นกัน
อาการอาเจียน เกิดจากความผิดปกติของทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการขย้อนเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารกลับออกมาทางปาก อาจเกิดได้จากการกินอาหารเยอะเกินไป กินเร็วเกินไป กินของที่ย่อยยากลงไป กินอาหารหลากหลายประเภทเกินไป หรือกินของเน่าเสียเข้าไป ซึ่งอาการอาจไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ แต่นอกเหนือจากนี้ อาจเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างเช่น โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีพยาธิภายใน โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น
ทั้งนี้ หากแมวมีอาการอาเจียนแค่ครั้งเดียว และยังคงวิ่งเล่นร่าเริงสนุกสนานได้ตามปกติ ก็คงไม่น่าเป็นห่วงอะไร เพราะอาการอาเจียนนั้นอาจเกิดจากสาเหตุธรรมดา ๆ ที่กล่าวไป แล้วและหายไปได้เอง
ถ้าแมวมีอาการอาเจียนและเราพอที่จะทราบถึงสาเหตุ เช่น เกิดหลังจากการเปลี่ยนอาหาร หรือแมวไปกินใบไม้หรือต้นไม้บางอย่างแล้วอาเจียน ก็ให้กำจัดสาเหตุนั้นออกไป
แต่ถ้าแมวมีอาการอาเจียนหลายครั้ง ซึม เบื่ออาหาร หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรจะรีบนำไปพบสัตวแพทย์ทันที เพราะอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและช็อคได้
การตรวจวินิจฉัย
เริ่มจากการสอบถามประวัติทั่วไป เช่น การกินอาหาร การฉีดวัคซีน การถ่ายพยาธิ ความถี่ของอาการอาเจียน และลักษณะของอาเจียน เป็นต้น ร่วมกับการตรวจร่างกาย คลำช่องท้องว่ามีอาการปวดเกร็งหรือมีก้อนผิดปกติในช่องท้องหรือไม่ ตรวจเลือดและปัสสาวะ ตรวจอุจจาระว่ามีไข่พยาธิหรือมีเลือดปนหรือไม่ นอกเหนือจากนี้ อาจมีการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น เอ็กซเรย์ อัลตร้าซาวนด์หรือส่องกล้อง ในรายที่มีความซับซ้อนของโรคเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการอาเจียนต่อไป
การรักษา
รักษาให้ตรงตามสาเหตุที่ทำให้อาเจียน สำหรับแมวที่มีอาการอาเจียน แต่ยังร่าเริงดี และไม่มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย อาจให้เพียงยาแก้อาเจียน หรือให้น้ำเกลือทางใต้ผิวหนัง และสังเกตอาการต่อที่บ้าน แต่ในแมวที่มีอาการอาเจียนร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ควรจะต้องอยู่ในความดูแลของคุณหมอก่อนภายใน 24 ชม. โดยงดน้ำงดอาหาร เปลี่ยนเป็นให้ยา ให้น้ำเกลือ ให้สารอาหารและแร่ธาตุทางเส้นเลือดแทน
ถ้าน้องเหมียวมีอาการดีขึ้นแล้ว สามารถกลับบ้านได้ เจ้าของก็ควรจะให้ยาตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดและตรงต่อเวลา ค่อย ๆ ลองป้อนน้ำให้น้องเหมียวกินทีละนิด ๆ ถ้าไม่มีอาการอาเจียนอีกก็ลองให้น้องเหมียวกินอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม เนือ้สัตว์ไม่ติดมัน หรืออาหารกระป๋องสำเร็จรูป สำหรับแมวป่วย ถ้าไม่มีอาการอาเจียนภายใน 1-2 วัน จึงเริ่มให้กลับมากินอาหารตามปกติ แต่ถ้าอาเจียนอีก จะต้องรีบกลับไปปรึกษาคุณหมอทันที
การป้องกัน
การป้องกันไม่ให้น้องเหมียวอาเจียน อาจทำได้โดยระวังไม่ให้น้องเหมียวมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งที่อาจเป็นพิษหรือกินสิ่งแปลกปลอม และหมั่นคอยสังกตการกินอาหารและสุขภาพโดยทั่วไป ฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ครบถ้วนและถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก ๆ 3 เดือน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Cat
Magazine
No comments:
Post a Comment