โดย สัตวแพทย์หญิง กรรณิกา ดวงจิต โรงพยาบาลสัตว์ธวัชชัย
โรคไตเป็นโรคหนึ่งที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงมักจะไม่ทราบว่าแมวของตนป่วยด้วยโรคนี้ เนื่องจากโรคไตมีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้น, สายพันธุ์แมว เช่น แมวเปอร์เซีย อเมริกันช็อตแฮร์ มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคโพลีซีสติก คิดนีย์ (Polycystic Kidney) ได้สูงกว่าแมวสายพันธุ์อื่น ๆ การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม การติดเชื้อเรื้อรัง เนื้องอก หรือนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ความดันโลหิตสูง หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมของแมว เช่น ชอบเลียกินน้ำบนพื้นที่สกปรก หรือทานสารเคมีที่เป็นพิษต่อไต สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลให้เนื้อไตเกิดความเสียหาย
ภาวะไตวายมี 2 แบบ คือ ไตวายเรื้อรังและไตวายเฉียบพลัน ซึ่งแมวจะเกิดภาวะไตวายได้ก็ต่อเมื่อ หน่วยไตเสียหายเกิน 75% ของหน่วยไตทั้งหมด แต่หากเสียหายไม่เกิน 75% แมวจะยังไม่แสดงอาการของแมวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในแมวที่มีอายุ ว่ามีอาการดังนี้หรือไม่
กินอาหารน้อยลง น้ำหนักลด ผอมลง
ขนแห้งหยาบ ไม่เงางาม
ตัวแห้งน้ำ (ทำการทดสอบโดยดึงหนังแมวบริเวณต้นคอ ถ้าหากดึงแล้วหนังเด้งกลับเลย แปลว่าไม่ขาดน้ำ แต่ถ้าหนังเด้งกลับช้า แปลว่าขาดน้ำ)
กินน้ำมาก ปัสสาวะเยอะ ชอบปัสสาวะตอนกลางคืน
อาเจียน น้ำลายเหนียวปนเลือด
อุจจาระเหลว ถ่ายดำเป็นเลือด
ซีด มีแผลในปาก ช่องปากอักเสหายใจหอบ ไม่ยอมใช้ขาหลัง
ชักกระตุก เกร็ง
ในการรักษาโรคไตนั้น เจ้าของควรทำความเข้าใจก่อนว่า หากเป็นโรคนี้แล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ โดยทั่วไปการรักษาภาวะไตวายเรื้อรังมักจะรักษาตามอาการเป็นหลักเพื่อช่วยยืดชีวิตของสัตว์ป่วย โดยการรักษาที่ได้ผลดีคือ การขับของเสียที่สะสมในกระแสเลือดให้ออกนอกร่างกายให้เร็วที่สุดโดยการฟอกไต แต่ในแมวมีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถฟอกไตได้ เพราะขนาดร่างกายเล็ก น้ำหนักน้อย เนื่องจากเครื่องฟอกไต สามารถใช้ได้เฉพาะสัตว์ที่มีน้ำหนัก 20 กิโลกรัมขึ้นไป
ดังนั้น การรักษาที่ทำได้ คือ การให้สารน้ำเข้าทางเส้นเลือดดำ เพื่อขับสารพิษออกจากกระแสเลือด นอกจากนี้ควรมีการแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ตามมา เช่น ภาวะขาดน้ำของร่างกาย ภาวะไม่สมดุลของสารอิเลคโตรไลท์ในกระแสเลือด ภาวะเลือดเป็นกรด และการเกิดแผลในทางเดินอาหาร รวมทั้งควรมีการให้สารอาหารที่ให้พลังงานสูงเข้าทางเส้นเลือดอย่างเหมาะสม และสัตว์ป่วยควรรับการรักษาด้วยอาหารที่เหมาะสม หรือโภชนาบำบัด
ในปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปทั้งชนิดเม็ด และอาหารกระป๋อง ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากอาหารดดังกล่าวมีสารอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ป่วยโรคไต คือมีระดับของโปรตีน ฟอสฟอรัส และโซเดียมต่ำ ทำให้ป้องกันไม่ให้เกิดของเสียในกระแสเลือดสูงขึ้น และควบคุมไม่ให้แมวป่วยมีอาการของโรคไตรุนแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ พาแมวมารรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลการรักษาเป็นระยะ ๆ และหาแนวทางการแก้ไขอย่างทันท่วงที
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://pet.kapook.com/view15947.html
เครดิตภาพ https://www.pinterest.com/pin/45106433760223606/
No comments:
Post a Comment